วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

3 D

กรอบแนวคิด การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนกระบวนการจัดการศึกษาที่สมบูรณ์จึงเปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน คือด้านหนึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาแต่ละช่วงชั้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัดสามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพอีกด้านหนึ่ง คือเป็นการบ่มเพราะ กล่อมเกลา ปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดและหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมจัดการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย(Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free)
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน 1.ด้านประชาธิปไตย (Democracy) มีความตระหนัก เห็นความสำคัญศรัทธา และเชื่อมั่นการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมทั้งรังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียง 2.ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) มีคุณธรรมจริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิธีชีวิต 3.ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) รู้จักหลักเลี่ยงห่างไกลยาเสพติด
วิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่ดี 3 ด้าน คือ ด้านประชาธิปไตยด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติดอย่างยั่งยืน
พันธกิจ 1.จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด 2.ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสถานศึกษาสู่ระดับ 3 ดี
ยุทธศาสตร์ 1.สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ดี มุ่งมั่นพัฒนาโดยยึดหลักธรรมาภิบาล 2.มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมที่เน้นการสร้างองค์ความรู้และคุณลักษณะ 3 ดี แก่ผู้เรียน 3.จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศการทำงานให้เป็นแบบอย่างที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน
ประเด็นยุทธศาสตร์ การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
เป้าประสงค์ 1.ผู้เรียนได้รับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์อย่างมีคุณภาพและมาตรฐานตามนโยบาย 3 ดี ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด 2.สถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานระดับ 3 ดีด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
ตัวชี้วัดและเป้าหมาย 1.ร้อยละของจำนวนผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี (ร้อยละ 80) 2.ร้อยละของจำนวนครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มีองค์ความรู้และการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี(ร้อยละ 80) 3.ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนตามเกณฑ์คุณภาพระดับ 3 ดี (ร้อยละ 100) 4.ร้อยละของจำนวนสถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับ3 ดี (ร้อยละ 80) 5.ร้อยละของจำนวนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีระบบบริหารจัดการความรู้และให้การสนับสนุนการดำเนินงานของสถานศึกษาจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี (ร้อยละ 80)
กลยุทธ์ 1.เร่งรัดพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนทุกระดับ 2.จัดการเรียนรู้ด้านประชาธิปไตย ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ในระบบการศึกษา 3.พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีองค์ความรู้และทักษณะการจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพ 4.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อเพื่อการเรียนรู้ 5.ส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3 ดี
หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ
ส่วนราชการ/หน่วยงาน
บทบาทหน้าที่
สำนักงานรัฐมนตรี
-ประสานการกำหนดนโยบายสู่การปฏิบัติ-ประสานการติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบาย
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
-กำหนดแผนยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3 ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
-จัดทำเกณฑ์ประเมินมาตรฐานคุณภาพ 3ดี ให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ยในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายสถานศึกษา 3ดี-พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ 3ดี-สนับสนุนให้ระบบเครือข่ยในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน-กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัด
แนวทางการดำเนินงานนโยบายสถานศึกษา 3 ดี
หลักการ 1.สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด ต้องจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนโยบาย 3ดี ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประชาธิปไต (Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรมและความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) 2.เมื่อดำเนินการจัดกิจกรรมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพที่กำหนด ให้เสนอหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในพื้นที่ พิจารณาคัดเลือกตามลำดับจนถึงกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอรับใบประกาศเกียรติคุณจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 3.เกณฑ์การประเมินคุณภาพสถานศึกษา 3 ดีจะพิจารณาคัดเลือกโดยผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ชุมชน และหน่วยงานต้นสังกัด ตามลำดับ
ขั้นตอนการดำเนินงานคัดเลือกสถานศึกษา 3ดี 1.จัดทำรายละเอียดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถานศึกษา 3ดี (3D) โดยพิจารณาจากองค์ประกอบ ดังนี้ 1.1มีการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรในการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา 1.2มีการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.3ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาตนเองและมีผลการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง 1.4ชุมชน องค์กร หรือเครือข่ายในพื้นที่มีส่วนร่วม 2.กำหนดแผนการดำเนินงาน 2.1ประกาศนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ 2.2จัดกิจกรรมประกวดตราสัญลักษณ์และเรียงความเรื่องนโยบายสถานศึกษา 3ดี (3D) 2.3กำหนดเกณฑ์การประเมินมาตรฐานและคุณภาพสถานศึกษา 3 ดี 2.4หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายระดับเขตพื้นที่ เขตตรวจราชการพิจารณาคัดเลือกเพื่อค้นหาสถานศึกษาแบบอย่าง 2.5จัดกิจกรรมนำเสนอผลการดำเนินงานของสถานศึกษาเพื่อขยายผล 2.6มอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการการศึกษา ตรวจติดตามและประเมินผลการจัดกิจกรรมโครงการของสถานศึกษา 2.7ประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาและจัดพิธีมอบรางวัล 3.ดำเนินการตามแผนการดำเนินงาน 3.1เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ 3.2สร้างการมีส่วนร่วมโดยจัดประกวดตราสัญลักษณ์ ให้นักเรีนนักศึกษาเสนอผลงาน เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายในการรณรงค์ 3.3ดำเนินการคัดเลือกและประเมินผล โดยมอบหมายความรับผิดชอบในทุกระดับ ดังนี้ ระดับจังหวัด มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตดำเนินการคัดเลือกและประเมินผลสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัด ระดับเขตตรวจราชการ มอบหมายให้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการกการศึกษาทุกเขต ดำเนินการคัดเลือกและประเมินผลสถานศึกษาภายในเขตรวจราชการ โดยมีผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งผู้แทนขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นคณะกรรมการ ระดับประเทศ มอบหมายให้องค์กรหลักและหน่วยงานที่มีสถานศึกษาในสังกัดร่วมดำเนินการ โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นฝ่ายเลขานุการ
แนวทางกิจกรรม เป็นกิจกรรมเชิงลึกที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่มุ่งเป้าหมายทำให้ผู้เรียนมีประชาธิปไตย ต่อต้านการทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง อยู่ในมโนสำนัก รู้ผิดชอบชั่วดี มีวิถีปฏิบัติอันดีงานในชีวิตจริง และมีส่วนร่วมต่อต้านยาเสพติดอย่างจริงจัง
หลักการจัดกิจกรรม 1) กำหนดในแผนงาน/โครงการประจำปีของสถานศึกษา 2) สอดแทรงในเนื้อหาวิชาในการจัดกลุ่มสาระเรียนรู้ 3) มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน 4) ดำเนินการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ท้องถิ่น
ตัวอย่างกิจกรรม 1.กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย 1) จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน เช่น เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรม อบต.น้อย/เทศบาลน้อย จัดให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ 2) การดำเนินงานสภานักเรีน นักศึกษา/กรรมการนักเรีน นักศึกษา 3) การจัดค่ายประชาธิปไตย/กิจกรรมประชาธิปไตยลงสู่ชุมชน 4) การส่งเสริมกิจกรรมสร้างสำนึกความรักชาติ 5) นำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษา 2.กิจกรรใส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย 1) จัดกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา วัด ศาสนสถานและชุมชน เช่น ส่งเสริมครูพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมจิตอาสาค่ายพุทธบุตร พุทธธรรม ค่ายคุณธรรมจริยธรรม จัดให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศาสนา 2) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการนิยมไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือความภูมิใจในความเป็นไทย 3) มีการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1) มีระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรีน เช่น การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงการช่วยเหลือแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้จำนวนนักเรีนย นักศึกษาที่มีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง 2) ส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมนักเรียนแกนนำ ครูแกนนำ กิจกรรมรณรงค์เพื่อ การไม่สูบบุหรี่ (สถานศึกษาปลอดบุหรี่) กิจกรรม/ชมรม TO BE NUMBER ONE การประกวดดนตรี แข่งขันกีฬา เปิดเวที ให้แสดงออก การจักนิทรรศการความรู้ 3) การบริหารจัดการด้านสวัสดิศึกษา เช่น การขจัดมุมอับลัดตา 4) มีแหล่งเรียนรู้ด้านยาเสพติด 5) มีการประสานความร่วมมือการดำเนินงานร่วมกับขุมชน /ท้องถิ่น
ระยะเวลาดำเนินการ 1.ประกาศ/เริ่มดำเนินงานตามนโยบาย มิถุนายน 2552 2.ประกวดตราสัญลักษณ์/เรียงความ มิถุนายน-กรกฏาคม 2552 3.จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน/ประกาศใช้ มิถุนายน 2552 4.คัดเลือกสถานศึกษาแบบอย่าง กันยายน-ตุลาคม 2552 5.ประเมินผล/คัดเลือกสถานศึกษาตามเกณฑ์/มอบรางวัล กุมภาพันธ์-มีนาคม 2553

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจแบบพอเพียง



พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

...งานบริการคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปกับคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 2 การทำงานของคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 3 ขั้นตอนการใช้คอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 4 ส่วนประกอบแผนวงจรหลัก
หน่วยที่ 5 อุปกรณ์รับข้อมูลและเก็บข้อมูล
หน่วยที่ 6 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยที่ 7 การติดตั้งสายไฟสายสัญญาณ
หน่วยที่ 8 ติดตั้งอุปกรณ์แสดงผล
หน่วยที่ 9 การจัดการฮาร์ดดิสก์
หน่วยที่ 10 การติดตั้งระบบปฎิบัติการ
หน่วยที่ 11 การติดตั้งไดรเวอร์
หน่วยที่ 12 รักษาความสะอาดคอมพิวเตอร์